วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

การปลูกและการดูแล

การปลูกและการดูแล
         
                                    
          การเลือกวิธีการปลูก ระยะปลูกเป็นเท่าใดนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของพืชผักที่เกษตรกรเลือกปลูก แต่มีข้อแนะนำ คือ เกษตรกรควรปลูกผักให้มีระยะห่างพอสมควร อย่าให้แน่นจนเกินไป เพื่อให้มีการระบายอากาศที่ดี เป็นการปรับสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมต่อการระบาดของโรค นอกจากนี้ควรหมั่นตรวจแปลงอยู่เสมอ โดยอาจเลือกสำรวจเป็นจุดๆ ประมาณ 10-20 จุด/ไร่ ถ้าพบว่ามีการระบาดของโรคและแมลงในระดับที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่พืชผักนั้น ก็ควรดำ เนินการกำ จัดโรคและแมลงที่พบทันที
 การให้ธาตุอาหารเสริมแก่พืช

           จะมีความจําเป็นต่อพืชผักในบางชนิดเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อสร้างความต้านทานโรคให้แก่พืชนั้น เช่นพืชในตระกูลกะหลํ่าจะต้องการธาตุโบรอนเพื่อสร้างความต้านทานโรคไส้กลวงดํา มะเขือเทศจะต้องการธาตุแคลเซียมเพื่อสร้างความตานทานโรคผลเน่า เป็นต้น
  การใช้กับดักแสงไฟ
         เป็นการใช้แสงไฟจากหลอดฟลูออร์เรสเซนต์ (หลอดนีออน) หรือหลอดไฟแบล็คไลท์ ล่อแมลงในเวลากลางคืน เช่น ผีเสื้อ หนอน กระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก ให้มาเล่นไฟและตกลงในภาชนะที่บรรจุนํ้ามันเครื่องหรือนํ้าที่รองรับอยู่ด้านล่าง การติดตั้งกับดักและแสงไฟจะติดตั้งประมาณ 2 จุด/พื้นที่ 1 ไร่โดยติดตั้งให้สูงจากพื้นดินประมาณ 150 เซนติเมตร และให้ภาชนะที่รองรับอยู่ห่างจากหลอดไฟ 30 เซนติเมตรและควรปิดส่วนอื่นๆ ที่จะทําให้แสงสว่างกระจายเป็นบริเวณกว้างเพื่อล่อจับแมลงเฉพาะในบริเวณแปลง มิใช้ล่อแมลงจากที่อื่นให้เข้ามาในแปลง
 การใช้พลาสติกหรือฟางข้าวคลุมแปลงปลูก
 เป็นการควบคุมปริมาณวัชพืชและเก็บรักษาความชื้นในดินไว้ได้นาน ทําให้ประหยัดนํ้าที่ใช้รดแปลงผัก การใช้พลาสติกหรือฟางข้าวคลุมแปลงปลูกนี้  ควรใช้กับพืชผักที่มีระยะปลูกแน่นอน ในแปลงที่พบการระบาดของโรคที่มีเชื้อไวรัสเป็นสาเหตุ และมีเพลี้ยอ่อนหรือแมลงเป็นพาหะ แนะนําให้ใช้พลาสติกที่มีสีเทา-ดํา โดยให้ด้านที่มีสีเทาอยู่ด้านบน เนื่องจากสีเทาจะทําให้เกิดจากสะท้อนแสงจึงช่วยไล่แมลงที่เป็นพาหนะได้
 

 การใช้สารสกัดจากพืช
        พืชที่นิยมนํามาใช้สกัดเป็นสารควบคุมโรคและแมลง คือ สะเดา    เนื่องจากในสะเดามีสารอะซาดิแรคติน (Azadirachtin) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการป้องกันและกําจัดแมลงได้โดย
 สามารถใช้ฆ่าแมลงได้บางชนิด
 ใช้เป็นสารไล่แมลง
 ทำให้แมลงไม่กินอาหาร
 ทำให้การเจริญเติบโตของแมลงผิดปกติ
 ยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลง
 ยับยั้งการวางไข่และการลอกคราบของแมลง
 เป็นพิษต่อไข่ของแมลงทําให้ไขไม่ฟัก
 ยับยั้งการสร้างเอนไซม์ในระบบย่อยอาหารของแมลง
วิธีการใช้   คือ นำเอาผลสะเดาหรือสะเดาที่บดแล้ว 1 กิโลกรัม แช่ในนํ้า 20ลิตร ทิ้งค้างคืนไว้ 1 คืน แต่ถ้าเกษตรกรมีเครื่องกวนส่วนผสมดังกล่าว ก็จะลดเวลาเหลือเพียง 3-4 ชั่วโมง จากนั้นกรองเอาแต่นํ้ามาผสมด้วยสารจับใบประมาณ 1ช้อนโต๊ะ แล้วนําไปรดพืชผักทันทีส่วนกากของสะเดาที่เหลือให้นําไปโรยโคนต้นเพื่อปรับปรุงสภาพดิน และกําจัดแมลงในดินได้อีกด้วย
ข้อควรระวัง    พืชบางชนิดเมื่อได้รับสารนี้แล้วอาจเกิดอาการใบไหม้เหี่ยวย่นหรือต้นแคระแกร็น ดังนี้เมื่อพบอาการต่างๆ เหล่านี้ก็ควรจะงดใช้สารสกัดจากสะเดาทันที

           

                home